พาสปอร์ตไทยแต่ละสีมีความหมายอย่างไร

         

 

พาสปอร์ตไทยแต่ละสีมีความหมายอย่างไร

ทราบกันหรือไม่ว่าประเทศไทยของเรามีการออกพาสปอร์ตให้กับคนไทยกี่ประเภท แต่ละประเภทมีสีอะไรแตกต่างกันอย่างไร ฟรีเบิร์ดทัวร์ขอพาทุกท่านมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับพาสปอร์ตต่างๆในไทยกันครับ


ประเทศไทยแบ่งพาสปอร์ตออกเป็น 4 ประเภท 4 สี 


1. พาสปอร์ตสีแดงเลือดหมู

พาสปอร์ตสีแดงเลือดหมูเป็นพาสปอร์ตที่ทุกคนคุ้นชิน และส่วนใหญ่ก็จะถือพาสปอร์ตประเภทนี้อยู่ซึ่งเป็นพาสปอร์ตธรรมดาที่กระทรวงต่างประเทศออกให้กับบุคคลธรรมดา โดยจะมีอายุการใช้งาน 5 และ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกพาสปอร์ตนั่นเอง 

 

2. พาสปอร์ตสีน้ำเงินเข้ม

พาสปอร์ตสีน้ำเงินเข้มเรียกว่า “พาสปอร์ตข้าราชการ” ผู้ที่ถือพาสปอร์ตนี้จะเป็นข้าราชการ และสมาชิกรัฐสภาที่ต้องมีภารกิจในการเดินทางไปต่างประเทศอยู่บ่อยๆ โดยการเดินทางของพาสปอร์ตประเภทนี้ ผู้เดินทางต้องมีจดหมายจากทางหน่วยงานในการชี้แจงการเดินทางด้วยเท่านั้นถึงจะใช้เดินทางได้(ข้อยกเว้นของพาสปอร์ตประเภทนี้คือบางครั้งก็ไม่ต้องทำวีซ่าเข้าประเทศจุดหมาย) โดยที่พาสปอร์ตเล่มนี้จะมีอายุการใช้งาน 5 ปี


**มีข้อแนะนำเล็กน้อยสำหรับท่านที่ถือพาสปอร์ตเล่มนี้ หากอยากเดินทางเพื่อไปท่องเที่ยวกับคณะกรุ๊ปทัวร์โดยไม่มีภารกิจทางราชการ ผมแนะนำให้ท่านทำพาสปอร์ตเล่มสีเลือดหมูเพื่อเดินทางจะดีกว่าเพราะทางทัวร์จะไม่รับประกันการเข้าประเทศให้ท่านหากท่านมีปัญหาในภายหลัง**

 

3. พาสปอร์ตสีแดงสด

พาสปอร์ตสีแดงสดเป็นสีพาสปอร์ตที่คนทั่วๆไปมักจะไม่ค่อยเห็นเพราะเป็นพาสปอร์ตประเภทเฉพาเจาะจงสำหรับคนถือ ชื่อเฉพาะของพาสปอร์ตประเภทนี้คือ “พาสปอร์ตทางทูต(Diplomatic)” พาสปอร์ตสีแดงสดนี้จะมีอายุหลังจากออก 5 ปี และผู้ที่สามารถทำพาสปอร์ตประเภทนี้ได้ก็จะเป็นบุคคลสำคัญต่างๆ ดังนี้


1. เชื้อพระวงศ์
2. คณะองคมนตรี และผู้ที่ถือตำแหน่งสูงๆในรัฐสภา
3. ประธาน เเละรองประธานศาล ต่างๆ
4. อดีตนายก และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ
5. ผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ
6. บุคคลที่ทำงานด้านการทูตที่ต้องประจำอยู่ที่ประเทศต่างๆ เป็นต้น

 

4. พาสปอร์ตสีเขียว

พาสปอร์ตเล่มสีเขียวเป็นพาสปอร์ตที่หลายๆท่านมักไม่ค่อยเห็นด้วยเช่นกัน พาสปอร์ตสีเขียวหรือพาสปอร์ตชั่วคราวจะออกให้ในกรณีที่คนไทยทำหนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุ และมีความจำเป็นเร่งด่วนจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ โดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทางปกติได้ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะไม่มีแถบที่เครื่องแสกนต่างๆอ่านได้ ซึ่งในการไปขอวีซ่าอาจจะเกิดปัญหากับสถานทูต


นอกจากนี้หนังสือเดินทางสีเขียวยังออกให้ในอีกสองกรณีพิเศษ คือ หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามระเบียบมหาเถรสมาคม และหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ 
หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปี เท่านั้น

 

หมายเหตุ ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2562

 

 

รู้จักกันไปแล้วกับ 4 ประเภทหนังสือเดินทางของไทย ก่อนออกเดินทางอย่าลืมเช็คกันด้วยนะครับว่าหนังสือเดินทางของเราหมดอายุแล้วหรือยังถ้าหมดหรือใกล้หมดเพื่อความสบายใจรีบไปทำใหม่กันได้ที่นี่เลยครับ ชี้จุดสถานที่ทำหนังสือเดินทาง

กลับสู่หน้าแรก หรือ อยากอ่านเรื่องอื่นๆอีก ข้อมูลท่องเที่ยวน่ารู้

 

         

  


 

 - หากบทความนี้ดีต่อใจ ชวนคนที่คุณรักมาเที่ยวกับฟรีเบิร์ดทัวร์กันค่ะ -   

สนใจโปรแกรมทัวร์ยุโรปคลิกที่นี่

 

 

คุยกับครอบครัวฟรีเบิร์ดทัวร์

โทร.02-0488-785-6 Hotline 093-570-3000 , 085-151-1000 

 

    instagramfreebirdtour  twitter freebirdtour  Youtube freebirdtour     



Visitors: 463,261